บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2022

รถ AGV

รูปภาพ
 ประโยชน์ของรถ AGV   คุ้มค่ากับการลงทุน ระยะเวลาคุ้มทุนเร็ว โดยทั่วไปอยู่ที่ 10-24 เดือน ลดต้นทุนในการผลิต ลดการใช้พนักงานในการขนส่งวิตถุดิบหรือสินค้าในกระบวนการผลิต ประหยัดพื้นที่ใช้สอย ลดขนาดพื้นที่จัดเก็บสินค้า หรือพื้นที่วัตถุดิบรอการผลิต ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ สามารถปรับการใช้งานให้เข้ากับทุกกระบวนการผลิต ปลอดภัย ไร้คนขับ ลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากความประมาท ทำให้งานหนักเป็นงานง่าย บรรทุกของหนักได้สูงสุด 4 ตัน 1 ง่ายต่อการปรับเปลี่ยนเส้นทาง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิต ลูกค้าสามารถย้ายเส้นทางการวิ่งของ AGV ได้ง่าย ๆ เทคโนโลยีทันสมัย คุณภาพสูง ใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์จากประเทศญี่ปุ่น แต่มีโรงงานประกอบในไทย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดเวลาการรอคอยวัตถุดิบซึ่งถือเป็นความสูญเปล่า ลดปัญหาเรื่องบุคลากร ลดปัญหางาน เนื่องจากพนักงานขาด ลา มาสาย ลาออกกะทันหัน หรือ ปัญหาพนักงานขาดแคลน  รักษาสิ่งแวดล้อม ใช้พลังงานไฟฟ้าซึ่งช่วยลดมลพิษในอากาศ การนำไปใช้งาน  ขนส่งวัตถุดิบ ใช้แทนการขนส่งวัตถุดิบโดยใช้แรงงานคน หรือทดแทนการใช้สายพานลำเลียง  สถานีประกอบงานบนตัวรถ การนำรถเอจีวีไปใช้เป็นสถา

สายพานลำเลียงเเละรถ agv

รูปภาพ
 Belt Conveyor System คือ ระบบที่ประกอบด้วยสายพานที่เชื่อมกันเป็นวง(Endless) คล้องและหมุนรอบมู่เลย์ขับ (Drive Pulley) ที่มี 1 ลูกหรือมากกว่าก็ได้ โดยมีมอเตอร์เป็นต้นกำลังในการขับเคลื่อนสายพานให้หมุนรอบมู่เลย์ สายพานจะลำเลียงวัสดุที่ไปยังจุดหมายที่ต้องการ โดยมีอุปกรณ์(Components) ต่างๆเป็นตัวประคอง(Support) ละขับเคลื่อนสายพานตลอดจนอุปกรณ์ Safety ต่างๆ เพื่อให้การทำงานของระบบเป็นไปได้อย่างสะดวกและปลอดภัย https://youtube.com/watch?v=JKBA0MF3wvo&feature=share https://youtube.com/watch?v=nkmRxMsA3C0&feature=share คอนเวเยอร์ไกด์ไปดูหน้างานนำประสบการณ์ดีๆมาแบ่งปัน ( ภาพ-ระบบสายพานลำเลียงเหมืองทองแดงและทอง-ประเทศลาว) คอนเวเยอร์ไกด์ไปดูหน้างานนำประสบการณ์ดีๆมาแบ่งปัน ( ภาพ-ระบบสายพานลำเลียงเหมืองทองแดงและทอง-ประเทศลาว) 1.1 ประวัติย่อๆ ของระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor) เริ่มพัฒนาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ที่ต้องการลำเลียงวัสดุทีละจำนวนมากๆ ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor) จึงถือกำเนิดมาเพื่อลดเวลาและประหยัดพลังงานในการขนส่งต่างๆ ในช่วงแรก(ปี ค.ศ.1858) สายพาน (Belt)ใช้ผ้าใบเสริมแรงแบบฝ้

หุ้นยนต์ในงานอุตสาหกรรม

 1. หุ่นยนต์ที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม https://youtube.com/watch?v=rHJIdv6ws3g&feature=share SCARA หรือ Selective Compliance Assembly Robot Arm เป็นหุ่นยนต์ที่มีการเคลื่อนที่แบบหมุน 2 จุด โดยหุ่นยนต์ SCARA จะสามารถเคลื่อนที่ได้รวดเร็วในแนวระนาบ และมีความแม่นยำสูง จึงเหมาะกับงานประกอบชิ้นส่วนทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ไม่ต้องการความรวดเร็วในการหมุนมากนัก แต่จะไม่เหมาะกับงานประกอบชิ้นส่วนทางกล (Mechanical Part) งานตรวจสอบ (Inspection) และงานบรรจุภัณฑ์ (Packaging) ข้อดี1. สามารถเคลื่อนที่ในแนวระนาบ และขึ้นลงได้รวดเร็ว      2. มีความแม่นยำสูง ข้อเสีย 1. มีพื้นที่ทำงานที่จำกัด 2. สามารถยกน้ำหนัก (Payload) ได้ไม่มากนัก 2หุ่นยนต์ประกอบชิ้นงานหรือชิ้นส่วนรถยนต์ https://youtube.com/watch?v=nHVrnRkeyAY&feature=share อุตสาหกรรมรถยนต์จะมีความเป็นอัตโนมัติสูง แต่ก็ยังมีโอกาสในการเติบโต และหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานกำลังทำหน้าที่ขับเคลื่อนประสิทธิภาพรูปแบบใหม่ภายในอุตสาหกรรมด้วยการใช้งานต่างๆ เช่น การป้อนงานให้เครื่องจักร การตรวจสอบ และการประกอบชิ้นส่วนในระบบขับเคลื่อน อิเล็กทรอนิกส์ และการตกแต่งภาย

เครื่องจักร NC

 เรื่องเครื่องจักร NC  ระบบ NC มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน  1.ชุดคำสั่ง (Programmed) คือคำสั่งในแต่ละขั้นตอนเพื่อกำหนดให้เครื่องจักร NC ทำงานตามที่เราต้องการ โดยที่ชุดคำสั่งนี้จะถูกสร้างขึ้นในลักษณะของตัวเลข ตัวอักษรสัญลักษณฺ์ต่างๆ แล้วเก็บไว้ในเทปกระดาษที่เจาะรู เมื่อจะนำไปใช้งานก็จะใช้เครื่องอ่านเทปเพื่อแปลรหัสคำสั่งให้ทำงานตามขั้นตอน.        2.หน่วยควบคุมการทำงานของเครื่องหรือเอ็มซียู (MCU : Machine Control Unit) คือส่วนที่ทำหน้าที่อ่านและตีความหมายของคำสั่งเพื่อแยกคำสั่งออกเป็นสัญญาณไปควบคุมเครื่องจักรต่อไป ประกอบไปด้วยเครื่องอ่านเทปช่องส่งสัญญาณควบคุม(Control Output Signal) ระบบการตรวจสอบแล้วส่งผลย้อนกลับ(Feedback Transducer) และแผงควบคุม(Control Panel) สำหรับควบคุมการเปิด/ปิดเครื่องจักร NC       3.เครื่องจักร NC(NC Machine Tool) เป็นส่วนที่ใช้ในการขึ้นรูปชิ้นงานตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เราเขียนขึ้น https://youtu.be/vU3pqViTX9w      ระบบ CNC (Computer Numerical Control) เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกสร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อเปลี่ยนแปลงและควบคุมสภาพการทำงานของเครื่องจักรก